วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560  08.30-12.30 น.


     วันนี้ครูเก็บตกคนที่ยังไม่ได้นำเสนองานวิจัย บทความ วีดิโอในการสอน และสื่อการสอนของแต่ละคนที่เป็นเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และตอบคำถามลงในกระดาษเกี่ยวกับเรื่องการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การแยกจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า จากนั้นครูก็ดูวิธีในการสอนของแต่ละคน โดยแนะนำ อธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น  
* แต่วันนี้ดิฉันไม่ได้ไปเรียนค่ะ เนื่องจากไม่สบาย แต่ก็ได้มีการสอบถามจากเพพื่อนที่ไปเรียนค่ะว่าในคาบเรียนเรียนอะไรบ้าง

ลิงค์ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fwww.youtube.com%2Fwatch%3Fv%3D40ZwrdIodkI&h=ATNo2bTYCv2v2yjTpHcIvmUBco_WZOQoANqq-oE2ixta_cFjCMuH4PmmCvw-_hK23ECOluVwjAa3OjtsQqI8rKB0JGW9nL-M1cvKzN6SWhKTOAY7uxW_3VO0amVS7fYOtM9yjhRNJKk&s=1


บทความสำเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
      การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
   การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น
    จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

  วิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ปฐมวัย
   ลิงค์วิจัยhttps://sites.google.com/site/prapasara/m2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น