วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 8.30 -12.30
ความรู้เชิงคณิตศาสตร์ มี ดังนี้
1. ความรู้ทางกายภาพ
เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส เช่น สี รูปร่างลักษณะ ขนาด
2. ความรู้ทางสังคม
เป็นความรู้ที่ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่เราได้จากการเรียนรู้ เช่น หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน หนึ่งปีมี 12 เดือน เป็นต้น
3. ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์
เป็นความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ จากการสังเกต สำรวจ และทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆ เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น เช่น การนับจำนวนสิ่งของกลุ่มหนึ่งและนับจำนวนทั้งหมดเท่ากับสี่ ซึ่งจำนวนสี่เป็นค่าของจำนวนสิ่งของทั้งหมดในกลุ่ม หากแยกออกจากกลุ่มจะไม่ได้มีความหมายเท่ากับจำนวนสี่
4. ความรู้เชิงสัญลักษณ์
เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้นและสามารถสร้างเป็นความรู้เชิงตรรกศาสตร์ โดยมีความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างชัดเจนจนสามารถนำสิ่งอื่นหรือสัญลักษณ์มาแทนได้ เช่น เมื่อนับผลไม้จำนวน 8 ผลในตะกร้า แล้ววาดวงกลมให้เท่ากับจำนวนผลไม้ โดยเขียนตัวเลข 8 แทนจำนวนผลไม้ทั้งหมด
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
เช่น
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
- การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่ผลไม่เกิน10
- ความหมายของการแยก
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน10
สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน
- ความหมายของการรวม
- การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่ผลไม่เกิน10
- ความหมายของการแยก
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน10
สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- เปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
- เปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
- เปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
(กาเปรียบเทียบต้องมีจุดเริ่มต้นที่เท่ากันเสมอ)
- เปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
- เปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
- เปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
(กาเปรียบเทียบต้องมีจุดเริ่มต้นที่เท่ากันเสมอ)
เงิน
- ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
เวลา
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน เช่น ช่วงเช้า ช่วงบ่าย ช่วงเย็น
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
ประโยชน์ที่ได้รับ
- การแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันกับเพื่อนในชั้นและอาจารย์ผู้สอน
- ได้รับ มีความรู้ ความเข้าใจ ของการใช้คณิตศาสตร์
- ใช้ในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเด็กปฐมวัย
- สามารถพัฒนาความคิดให้เด็กรู้จักคิดอย่างเป็ฯระบบและวิธีการได้
- การแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันกับเพื่อนในชั้นและอาจารย์ผู้สอน
- ได้รับ มีความรู้ ความเข้าใจ ของการใช้คณิตศาสตร์
- ใช้ในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเด็กปฐมวัย
- สามารถพัฒนาความคิดให้เด็กรู้จักคิดอย่างเป็ฯระบบและวิธีการได้
การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจเรียน เข้าใจที่อาจารย์สอน
เพื่อน : ตั้งใจฟังครู จดความรู้ตลอดเวลาที่ครูพูด
อาจารย์ : ตั้งใจสอน กระตุ้นความคิดนักศึกษาจากการถามคำถามนักศึกษาได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น